อัพเดตข่าว สอบท้องถิ่น 67 กำหนดการสอบท้องถิ่น ปี 2566-2567
อัพเดต 26 มกราคม 2567
แผนและขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการสอบแข่งขัน ท้องถิ่น ปี 2567
มีนาคม – ตุลาคมคม 67 | ช่วงเปิดรับสมัครสอบแข่งขัน เปิดรับสมัครสอบ |
พฤษภาคม 67 | สอบภาค ก และ ภาค ข |
พฤษภาคม 66 | ช่วงสอบสัมภาษณ์ |
สิงหาคม 67 | ประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบผ่าน |
สิงหาคม – กันยายน 67 | รายงานตัว |
ตุลาคม 67 | บรรจุ |
** กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
อัพเดต 26 พฤษภาคม 2566
อัพเดตการประชุมครั้งที่ 1/2566 จำนวนตำแหน่งว่างสอบท้องถิ่น ปี 2566 65 ตำแหน่ง 4,010 อัตรา
การประชุมคณะกรรมการกลางข้อราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 6/2566
หลักเกณฑ์การสอบแข่งขันท้องถิ่นใหม่
อัพเดต 22 พฤษภาคม 2566
การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการการส่วนท้องถิ่น ปี 2566 คณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.) ได้มีประกาศ เรื่อง การขึ้นบัญชีฯ ลงวันที่ 8 มีนาคม 2565 ซึ่งมีอายุบัญชี 2 ปี โดยมีผู้ได้รับการขึ้นบัญชี จํานวน 71 ตําแหน่ง รวม 18,809 ราย
มียอดสะสมในการเรียกรายงานตัวไปแล้ว จํานวน 16,069 ราย คงเหลือในบัญชี จํานวน 2,740 ราย
สอบท้องถิ่นปี 66 ตำแหน่งที่คาดว่าจะเปิดรับสมัครสอบ
อัตราที่คาดว่าจะเปิดรับ ปี 66
1. ประเภทวิชาการ จำนวน 27 ตำแหน่ง 1,296 อัตรา
2. ประเภททั่วไป จำนวน 20 ตำแหน่ง 1,944 อัตรา
3. ประเภทครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 18 ตำแหน่ง 770 อัตรา
รวมทังสิ้น 26 ตำแหน่ง 4,010 อัตรา
ตำแหน่งที่หมดปัญชีและตำแหน่งที่ว่างที่คาดว่าจะเปิดรับ ปี 66
อัพเดทล่าสุด วัน เวลา สถานที่สอบ ท้องถิ่น 2564
สอบท้องถิ่น 64 กำหนดการสอบ วันอาทิตย์ ที่ 12 ธันวาคม 2564
ภาค ก สอบช่วงเช้า 9.00 – 11.00 น.
ภาค ข สอบช่วงบ่าย 13.00 – 15.30 น.
ตรวจสอบรายชื่อ สถานที่สอบ และรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ https://www.dlaapplicant2564.com/
เนื่องจาก สถานการณ์ Covid-19 คณะกรรมการกลางการสอบประกาศเลื่อนกำหนดวันสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2564 ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ออกไปจนกว่าจะคลี่คลาย
จำนวนผู้สมัคร สอบท้องถิ่น ปี 2564 จำนวน 498,700 ราย
ภูมิภาค | ทั่วไป | ปฏิบัติการ | ครูผู้ช่วย | รวม |
ภาคกลาง เขต 1 | 9,996 | 22,946 | 6,778 | 39,720 |
ภาคกลาง เขต 2 | 12,920 | 35,731 | 10,347 | 58,998 |
ภาคกลาง เขต 3 | 8,539 | 19,494 | 5,142 | 33,175 |
ภาคเหนือ เขต 1 | 13,560 | 29,402 | 4,848 | 47,810 |
ภาคเหนือ เขต 2 | 18,117 | 28,778 | 13,062 | 59,957 |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 1 | 12,566 | 33,734 | 9,756 | 56,056 |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 | 11,431 | 19,662 | 5,629 | 36,722 |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3 | 11,862 | 26,927 | 5,121 | 43,910 |
ภาคใต้ เขต 1 | 17,644 | 25,766 | 8,335 | 51,745 |
ภาคใต้ เขต 2 | 24,577 | 40,179 | 5,851 | 70,607 |
รวมทั้งหมด | 141,212 | 282,619 | 74,869 | 498,700 |
การสมัครสอบ สามารถสมัครสอบได้ทางเว็บไซต์ http://www.dlaapplicant2564.com/ ตั้งแต่วันที่ 9-31 มีนาคม 2564 ตลอด 24 ชม ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ประกาศ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กสถ. เรื่องรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2564 ดังนี้
- ประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564
- รับสมัครสอบทางเว็บไซต์ วันที่ 9 – 31 มีนาคม 2564
- ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ วันที่ 5 เมษายน 2564
- ประกาศกำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ วันที่ 20 เมษายน 2564
- สอบท้องถิ่น 64 วันไหน จากการคาดการณ์ ที่สอบท้องถิ่น 62 จะสอบหลังจากประกาศสถานที่สอบ ประมาณ 1 เดือน ดังนั้นปี 64 น่าจะมีการสอบ ประมาณ วันที่ 23 พฤษภาคม 64 แต่ทั้งนี้ปี 64 มีสถาการณ์โควิด 19 อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสถาณการณ์
- ประกาศล่าสุด สอบท้องถิ่นภายในวันที่ 4 กรกฏาคม 64 รอประกาศวันเวลาและสถานที่สอบ ภายในในวันที่ 15 มิถุนายน 64
- ประกาศ 15 มิถุนายน 64 สอบท้องถิ่นภายในวันที่ 8 สิงหาคม 64 รอประกาศวันเวลาและสถานที่สอบ ภายในในวันที่ 20 กรกฎาคม 64
เนื่องจาก สถานการณ์ Covid-19 คณะกรรมการกลางการสอบประกาศเลื่อนกำหนดวันสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2564 ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ออกไปจนกว่าจะคลี่คลาย
สอบท้องถิ่น 64 มีตําแหน่งอะไรบ้าง
ตำแหน่งว่างที่จะเปิดรับสมัครสอบท้องถิ่น 64 จำนวน 69 ตำแหน่ง 4,426 อัตรา (ข้อมูล ณ วันที่ 4 มกราคม 2564) ได้แก่
- ประเภทวิชาการ 22 ตําแหน่ง วุฒิ ป.ตรี ขึ้นไป
- ประเภททั่วไป 25 ตําแหน่ง วุฒิต่ำกว่า ป.ตรี
- ครูผู้ช่วย 22 สาขาวิชาเอก วุฒิ ปตรี ขึ้นไป+ใบประกอบวิชาชีพครู
แนวข้อสอบ ท้องถิ่น 2564 ฉบับเล่มเดียวจบ เน้นจุดออกสอบ
เนื้อหา ภาค ก สอบท้องถิ่น 64
หัวข้อ | รายละเอียด |
วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล (คะแนนเต็ม 30 คะแนน) | 1.1 วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล (คะแนนเต็ม 30 คะแนน) เป็นการทดสอบความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล ในเรื่องดังต่อไปนี้
|
วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ (คะแนนเต็ม 30 คะแนน) | 1.2 วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ (คะแนนเต็ม 30 คะแนน) เป็นการทดสอบความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับกฎหมายในการปฏิบัติราชการ ในเรื่องดังต่อไปนี้
|
วิชาภาษาไทย (คะแนนเต็ม 20 คะแนน) | 1.3 วิชาภาษาไทย (คะแนนเต็ม 20 คะแนน) เป็นการทดสอบความรู้และความสามารถในการใช้ภาษา โดยการอ่านจับใจความ การสรุปความ การตีความ การขยายความจากข้อความสั้นๆ หรือบทความ และให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆ จากคำหรือกลุ่มคำ ประโยคหรือข้อความสั้นๆ การเรียงข้อความ การสะกดคำ การแต่งประโยค และคำศัพท์ |
วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 20 คะแนน) | 1.4 วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 20 คะแนน) เป็นการทดสอบความรู้และความสามารถภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน ทางการอ่าน การสรุปความ การตีความ การใช้ศัพท์ สำนวน โครงสร้างประโยคที่เหมาะสมทั้งในเชิงความหมายและบริบท และความเข้าใจ สาระสำคัญของข้อความในระดับเบื้องต้น |
ตำแหน่งที่เปิดสอบ พร้อมเนื้อหาภาค ข ท้องถิ่น 64 สอบอะไรบ้าง แยกแต่ละตำแหน่ง
ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
ตำแหน่ง | เนื้อหา ภาค ข. สอบท้องถิ่น 64 |
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน | 1. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิก จ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ 3. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 4. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563 5. ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ และนโยบายการบัญชีภาครัฐ พ.ศ. 2561 6. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของ ตำแหน่งที่สมัครสอบ |
เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ปฏิบัติงาน | 1. พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 2. พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม 3. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิก จ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 4. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563 5. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ใน ทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2543 6. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของ ตำแหน่งที่สมัครสอบ |
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน | 1. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ 2. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 3. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิก จ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 4. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและ การบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 5. กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัด จ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 6. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของ ตำแหน่งที่สมัครสอบ |
เจ้าพนักงานทะเบียนปฏิบัติงาน | 1. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 2. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 และที่แก้ไข เพิ่มเติม 3. พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม 4. กฎกระทรวงกำหนดการปฏิบัติงานทะเบียนราษฎรด้วยระบบ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2547 5. กฎกระทรวงกำหนดให้คนต่างด้าวปฏิบัติเกี่ยวกับการ ทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2548 6. กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บข้อมูล ทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2550 7. ความรู้เกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎร์ เช่น การจัดทำทะเบียน บ้าน การจัดทำทะเบียนคนเกิด-ตาย การรับแจ้งย้ายที่อยู่อาศัย การแก้ไขรายการในทะเบียนบ้าน เป็นต้น 8. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ”ของตำแหน่ง ที่สมัครสอบ |
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน | 1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 2. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 3. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 4. ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 5. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (การบันทึกข้อมูล) 6. ความรู้เกี่ยวกับงานธุรการ งานสารบรรณ งานบริหารทั่วไป 7. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของ ตำแหน่งที่สมัครสอบ |
เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ปฏิบัติงาน | 1. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 2. พระราชบัญ ญั ติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม 3. ความรู้เกี่ยวกับหลักการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ เบื้องต้น 4. ความรู้เกี่ยวกับการแปลและการเรียบเรียงข้อมูลเพื่อการ ประชาสัมพันธ์(ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 5. ความรู้ความสาม ารถในการเขียนแผน งานโครงการ ประชาสัมพันธ์ 6. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของ ตำแหน่งที่สมัครสอบ |
เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย | 1. พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม 3. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย) 4. ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการและปฏิบัติการเกี่ยวกับการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เช่น สำรวจตรวจตราเพื่อ ป้องกันและระงับอัคคีภัย การป้องกันและบรรเทาอันตรายจาก อุทกภัย วาตภัย และภัยอื่นๆ การฟื้นฟูและบรรเทาทุกข์ ผู้ประสบภัย เป็นต้น 5. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ”ของตำแหน่ง ที่สมัครสอบ |
เจ้าพนักงานเทศกิจปฏิบัติงาน | 1. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 |
เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนปฏิบัติงาน | 1. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 2. พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ 3. ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น (ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนและ ประสานแผนพัฒนาพื้นที่ในระดับอำเภอและตำบล พ.ศ. 2562) 4. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง 5. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 6. ความรู้และกระบวนการเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน – แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน เช่น หลักการ พัฒนาชุมชน หลักการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ข้อมูลชุมชน วิธีการและกระบวนการพัฒนาชุมชน การส่งเสริมและพัฒนา ศักยภาพชุมชนและผู้นำชุมชน การจัดการความรู้และภูมิปัญญา ท้องถิ่นในด้านต่างๆ การวางแผน โครงการและติดตาม ประเมินผลเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ เป็นต้น 7. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ”ของตำแหน่ง ที่สมัครสอบ |
เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวปฏิบัติงาน | 1. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 2. พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม 3. พระราชบัญญัตินโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม 4. ความรู้เกี่ยวกับนโยบายยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวใน ระดับต่างๆ 5. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 6. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของ ตำแหน่งที่สมัครสอบ |
เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน | 1.ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการเกษตร เช่น การปรับปรุง พันธุ์พืช หลักพฤกษศาสตร์เบื้องต้น การจำแนกพืช การขยายพันธุ์ พืช เช่น การตอน การติดตา การทาบกิ่ง ปักชำ ฯลฯ 2. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย 3. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษา เช่น การให้น้ำ การให้ปุ๋ย การจัดการดิน การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การตัดแต่ง ฯลฯ 4. ความรู้ด้านเทคโนโลยีภูมิทัศน์ การส่งเสริมการเกษตร เช่น ส่งเสริมด้านการเกษตรให้กับเกษตรกร การทำเกษตรอินทรีย์ 5. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง 6. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของ ตำแหน่งที่สมัครสอบ |
เจ้าพนักงานสวนสาธารณะปฏิบัติงาน | 1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบ เรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 3.ความรู้เกี่ยวกับการจัดสวน การจัดภูมิทัศน์ 4.ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบสวนสาธารณะเบื้องต้น และ การดูแลบำรุงรักษา 5. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษาสวนสาธารณะ และ บำรุงรักษาภูมิทัศน์ 6.ความรู้เกี่ยวกับการให้น้ำและการใส่ปุ๋ยพรรณไม้ในสวน 7. ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดศัตรูพรรณไม้ใน สวนสาธารณะ 8.ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ”ของตำแหน่ง ที่สมัครสอบ |
เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน | 1. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๒. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม 3. พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 4. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบ เรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 5. พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไข เพิ่มเติม 6. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานสาธารณสุขเบื้องต้น ได้แก่ – การควบคุมและป้องกันโรค – การส่งเสริมสุขภาพอนามัย การวางแผนครอบครัว งาน อนามัยแม่และเด็ก งานอนามัยโรงเรียน งานสุขาภิบาลอาหาร และสิ่งแวดล้อม งานโภชนาการ งานทางด้านระบาดวิทยา 7. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิตามหลักประกันสุขภาพ ประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน 8. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของ ตำแหน่งที่สมัครสอบ |
เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขปฏิบัติงาน | 1.ความรู้เกี่ยวกับการทันตกรรม ทันตสาธารณสุข 2. ความรู้เกี่ยวกับการเตรียม การดูแล บำรุงรักษาเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ 3.ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคในช่องปาก 4.ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก 5.ความรู้เกี่ยวกับการบำบัดรักษาทางทันตกรรมพื้นฐาน 6.ความรู้เกี่ยวกับระบบงานทันตสาธารณสุข 7.ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ”ของตำแหน่ง ที่สมัครสอบ |
พยาบาลเทคนิคปฏิบัติงาน | 1. ความรู้เกี่ยวกับหลักการและเทคนิคการพยาบาล 2. ความรู้เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเบื้องต้น 3.ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย 4. ความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 5. ความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 6. ความรู้เกี่ยวกับ โภชนาการและโภชนบำบัด 7. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ”ของตำแหน่ง ที่สมัครสอบ |
สัตวแพทย์ปฏิบัติงาน | 1. พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. ๒๕59 2. พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒558 3. พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 4. พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 5. ความรู้เกี่ยวกับโรคสัตว์ และโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน 6. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านการปศุสัตว์ 7. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของ ตำแหน่งที่สมัครสอบ |
เจ้าพนักงานศูนย์เยาวชนปฏิบัติงาน | 1. พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 3. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานศูนย์เยาวชน 4. ความรู้เกี่ยวกับหลักการบริหารจัดการศูนย์เยาวชน 5. ความรู้เกี่ยวกับด้านพลศึกษา ด้านศิลป์ด้านห้องสมุด ด้านนาฏศิลป์ด้านคหกรรมศาสตร์การจัดกิจกรรมพิเศษ 6. ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชนนอกสถานศึกษา 7. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของ ตำแหน่งที่สมัครสอบ |
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน | 1. ความรู้เกี่ยวกับการซ่อม การบำรุงรักษาเครื่องจักรและยานพาหนะ 2. ความรู้เกี่ยวกับนิวเมติกและไฮดรอลิกส์ 3. ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องยนต์ 4. ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องสูบน้ำ 5. ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าเบื้องต้น 6. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของ ตำแหน่งที่สมัครสอบ |
นายช่างผังเมืองปฏิบัติงาน | 1. พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 2. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดทำผังเมือง 3. ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและความรู้ด้านผังเมือง 4. ความรู้เกี่ยวกับการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ และการพัฒนาเมือง 5. ความรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในการ วางแผนและผังเมือง 6. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของ ตำแหน่งที่สมัครสอบ |
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน | 1. ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้า 2. ความรู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบมอเตอร์ไฟฟ้า ระบบ แสงสว่าง และเครื่องปรับอากาศ 3. ความรู้เกี่ยวกับการติดตั้ง ซ่อมแซม บำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้เกี่ยวกับไฟฟ้า และระบบไฟฟ้า 4. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์และคำนวณหาค่าวงจรไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ 5. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของ ตำแหน่งที่สมัครสอบ |
นายช่างโยธาปฏิบัติงาน | 1. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบและคำนวณโครงสร้างไม้และ โครงสร้างเหล็ก 3. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจและควบคุมงานก่อสร้าง 4. ความรู้เกี่ยวกับการสำรวจเพื่อการก่อสร้าง 5. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักรก่อสร้าง 6. ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบวัสดุ และคอนกรีตเทคโนโลยี 7. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของ ตำแหน่งที่สมัครสอบ |
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน | 1.ความรู้พื้นฐานด้านงานสำรวจและการทำแผนที่ 2.ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ AutoCAD และ โปรแกรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณและเขียนแผนที่ การคำนวณพื้นที่ จากค่าพิกัด 4. ความรู้เกี่ยวกับการรังวัดหมุดหลักฐานแผนที่โดยดาวเทียม เบื้องต้น (GPS) 5.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ (GIS) 6. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ”ของตำแหน่งที่สมัครสอบ |
เจ้าพนักงานประปาปฏิบัติงาน | 1. พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2. พระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม 3. ความรู้เกี่ยวกับการติดตั้ง ซ่อมแซม บำรุงรักษาระบบประปา รวมทั้งการผลิตและจำหน่ายน้ำประปา 4. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องสูบน้ำและการใช้งาน 5. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำ 6. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของ ตำแหน่งที่สมัครสอบ |